กรมอุทยานฯ หนุนเลี้ยงตุ๊กแกไทยส่งไต้หวัน-จีน

| 2553-08-29 | |

กรมอุทยานฯ ผุดไอเดียเจ๋งหนุนชาวบ้านเลี้ยง “ตุ๊กแก” ส่งออกนอกหวังเพิ่มรายได้ โดยเฉพาะไต้หวันเป็นตลาดใหญ่ เน้นวิจัย-เพาะพันธุ์ตุ๊กแกพันธุ์ไทยดั้งเดิม ซึ่งเป็นที่ต้องการของชาวไต้หวัน ส่วนใหญ่นำไปทำกระเป๋า เข็มขัด แทนหนังจระเข้ โดยจะใช้สมุทรสงครามเป็นพื้นที่นำร่องเพราะมีร่องสวนจำนวนมาก และยังเป็นปัญหาของชาวบ้าน ขณะที่ยังมีผู้ส่งออกรายเล็กเพียงรายเดียวที่จ.สกลนคร

วันที่ 14 พ.ค. นายวัฒนา เวทยประสิทธิ์ ผู้อำนวยการกองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญาไซเตส กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปิดเผยว่า ปัจจุบันเนื้อตุ๊กแกตากแห้งนับว่าเป็นสินค้าที่มีความต้องการในตลาดสูงมาก โดยเฉพาะตลาดในต่างประเทศ ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ดำเนินกิจการนี้อยู่เพียงไม่กี่ราย อยู่ในแถบจ.สกลนคร และยังทำเป็นกิจการขนาดเล็กอยู่

ซึ่งที่ผ่านมากรมอุทยานฯ อนุญาตให้ส่งตุ๊กแกตากแห้งออกไปขายที่ไต้หวันเฉลี่ยปีละ 1 แสนตัว และต้องรับรองว่าเป็นตุ๊กแกจากประเทศไทย แม้ว่าจะยังไม่อยู่ในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองตามอนุสัญญาไซเตสก็ตาม นอกจากนี้สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานฯ ยังได้พยายามที่จะศึกษาวิจัยเพื่อการเพาะเลี้ยงเพิ่มจำนวนตุ๊กแกพันธุ์ดั้งเดิมของไทย ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ชาวไต้หวันต้องการมาก เพื่อที่จะไปสอนให้ชาวบ้านประกอบเป็นอาชีพเสริม เพาะขายส่งออก เพราะขณะนี้แม้จะมีความต้องการสูง แต่ก็ยังไม่มีการส่งเสริมในการเพาะเลี้ยงมากนัก

นายวัฒนากล่าวต่อว่า นอกจากตุ๊กแกที่กรมอุทยานฯ กำลังพยายามศึกษาเพื่อเพิ่มจำนวน ในการสร้างโอกาสให้ชาวบ้านนำไปเพาะเพื่อส่งขายเป็นอาชีพเสริมแล้ว ยังมีสัตว์เลื้อยคลานประเภทตัวเงินตัวทอง ที่พบเห็นได้ทั่วไปตามท้องร่องในประเทศไทย ซึ่งเป็นที่ต้องการของท้องตลาดต่างประเทศเช่นกัน

โดยส่วนใหญ่ต้องการนำหนังไปใช้ประโยชน์ในการผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง กระเป๋า เข็มขัด ทดแทนหนังจระเข้ ซึ่งสัตว์ชนิดนี้กรมอุทยานฯก็เตรียมเปิดให้เพาะเลี้ยงได้ด้วย ซึ่งในระยะแรกเริ่มนี้ อยู่ในขั้นตอนการเลือกพื้นที่นำร่องคือ จ.สมุทรสงคราม เพราะที่ผ่านมาพบว่าตัวเงินตัวทองอาศัยอยู่มาก แ

ละยังสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน ด้วยการเข้าไปทำลายพืชผลทางการเกษตรของชาวสวน จนต้องหาทางกำจัดด้วย ซึ่งถ้าหากมีการส่งเสริมให้เพาะขายเชิงพาณิชย์ เชื่อว่าจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้ และยังทำให้ชาวบ้านมีอาชีพเพิ่มมากขึ้นด้วย

“ที่เราต้องการส่งเสริมพวกนี้เพราะที่ผ่านมามีชาวบ้านมาขอให้ไปช่วยเหลือ เพราะตัวเงินตัวทอง ตุ๊กแก มีจำนวนมาก และสร้างความเดือดร้อน ทำให้บางทีก็ต้องกำจัดด้วยการยิงทิ้งบ้าง ก็น่าสงสารสัตว์ เราได้พยายามกลับมาศึกษาเพื่อให้ชาวบ้านได้ประโยชน์จากมัน ส่วนหนึ่งจะส่งเสริมให้มีการเลี้ยง อาจจะเลี้ยงเป็นลักษณะฟาร์ม สวนสัตว์ เพื่อการท่องเที่ยวหรือเลี้ยงไว้ตามบ้าน อาจจะขายได้” นายวัฒนากล่าว



อาชีพใหม่ ตุ๊กแกอบแห้ง รายได้เดือนละ 10 ล้าน!


อาชีพแปลกทำ”ตุ๊กแกอบแห้ง”ส่งออกทำเงิน ช่วงเศรษฐกิจซบเซา และภาวะภัยแล้ง แห่งเดียวนครพนม ไม่กระทบยอดส่งออกตุ๊กแกตากแห้ง ส่งนอก พบเงินหมุนเวียนเดือนละกว่า 10 ล้านบาท…..

ที่ จ.นครพนม ถึงแม้หลายพื้นที่จะประสบปัญหาภัยแล้งไม่สามารถทำนาและการเกษตรได้ตามปกติ รวมถึงสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้ประชาชนรายได้ลดลง แต่สำหรับราษฎรบ้านตาล ต.นาหว้า อ.นาหว้า จ.นครพนม กลับไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากเป็นหมู่บ้านแห่งเดียวของนครพนมที่ยึดอาชีพสุดแปลกมานานกว่า 20 ปีคือทำตุ๊กแก ไส้เดือน และปลิง ตากแห้ง ส่งออกขายต่างประเทศหมุนเวียนตามฤดูกาลตลอดปี สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับชาวบ้านได้เป็นอย่างดี สวนกระแสในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

นายคนึง มีพรหม นายอำเภอนาหว้า จ.นครพนม เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 6 ก.ค.ว่า สำหรับ ต.นาหว้า อ.นาหว้า ถึงแม้จะมีปัญหาเศรษฐกิจและภัยแล้ง แต่ชาวบ้านมีอาชีพทำตุ๊กแก ไส้เดือน และปลิง ตากแห้ง ส่งขายต่างประเทศ สร้างเงินหมุนเวียนเดือนละกว่า 10 ล้านบาท อำเภอได้เข้าไปดูแลส่งเสริมสนับสนุนบางส่วน ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพหลัก

ขณะ ที่นายปราณีต นางทราช อายุ 50 ปี ราษฎรบ้านตาลที่ยึดอาชีพทำตุ๊กแกตากแห้งส่งออก กล่าวว่า ทำมานานกว่า 20 ปีแล้ว รายได้ดี ไม่ว่าจะสภาพเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ไม่มีผลกระทบ ช่วงนี้จะเป็นตุ๊กแกตากแห้ง คนที่ออกไปจับมาขายตัวละประมาณ 10 – 25 บาท ตามขนาด และชำแหละแปรรูปตามแบบมาตรฐานนำไปตากแห้งหรืออบ ก่อนแพ็กส่งขายให้พ่อค้าส่งออกไป จีน ไต้หวัน นำไปปรุงอาหาร เป็นยาชูกำลัง ในราคาตัวละประมาณ 30 บาท ตามขนาดเล็กใหญ่ มียอดส่งออกเดือนละหลายแสนตัว มีรายได้ครอบครัวละ 5,000 – 10,000 บาทต่อเดือน

นายปราณีต กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องปัญหาการสูญพันธุ์ของตุ๊กแกนั้นไม่มีอย่างแน่นอน เพราะในระยะเวลา 1 ปี จะมีช่วงพักประมาณเดือน ต.ค. – ม.ค. เป็นช่วงตุ๊กแกผสมพันธุ์ออกไข่ ซึ่งธรรมชาติของตุ๊กแกนั้น ขยายพันธุ์ได้เร็วและมีจำนวนมาก เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนก็จะไปทำปลิงตากแห้งแทน สำหรับตุ๊กแกที่นำมาผลิตนั้น จับตามบ้านเรือนทั่วไป ไม่ใช่ตุ๊กแกตามป่า จึงไม่ผิดตาม พ.ร.บ.สัตว์ป่าหวงห้าม ในอนาคตกำลังหาทางเลี้ยงขยายพันธุ์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ

1 ความคิดเห็น:

Trackback by oho 11 มิถุนายน 2554 เวลา 09:49 กล่าวว่า...

มีจริงด้วยรึ อาชีพเลี้ยงตุ๊กแก

แสดงความคิดเห็น


มุมมองของชีวิต

Blog Archive